สยามพิวรรธน์เปิดต้นแบบองค์กรของการสร้างคุณค่าร่วมกันสู่ความยั่งยืน พร้อมเดินหน้าโครงการเพื่อสังคม Citizen of Love by Siam Piwat

ข่าวบริษัท - 22 พฤศจิกายน 2562


- กว่าหกทศวรรษ กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ยึดมั่นในวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับคนจำนวนมาก และเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย

- ขับเคลื่อนด้วยการใช้กลยุทธ์ต้นแบบ “การสร้างคุณค่า สมประโยชน์ร่วมกันสู่ความยั่งยืน” ซึ่งบรรจุเข้าไปในการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่องสร้างความยั่งยืนใน 3 มิติ คือ ผู้คน ชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม

- เดินหน้าโครงการ Citizen of Love by Siam Piwat ด้วยปณิธานที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสานและแบ่งปันความรัก มอบโอกาส ความเท่าเทียมและความสุข ให้กับทุกคน

เราต้องการให้สยามพิวรรธน์เป็นองค์กรที่สร้างคุณค่าต่อผู้คน ชุมชนสังคมและประเทศชาติ เราไม่ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมเป็นครั้งคราว แต่ปลูกฝังการสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นในวงกว้าง และเข้าไปอยู่ในการดำเนินธุรกิจทุกๆวัน
ของเราเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

- นาง ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์


กรุงเทพฯ (19 พฤศจิกายน 2562) หลังจากที่ประกาศจุดยืนในฐานะ “ผู้นำแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy) นำไทยยิ่งใหญ่บนเวทีโลกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ “ไอคอนสยาม” เปิดวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจกว่าหกทศวรรษ ที่มุ่งมั่นให้เป็นธุรกิจที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับคนจำนวนมาก และเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ที่ขับเคลื่อนด้วยการใช้กลยุทธ์ต้นแบบ “การสร้างคุณค่า สมประโยชน์ร่วมกันสู่ความยั่งยืน” ซึ่งได้บรรจุเข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกประเภทของสยามพิวรรธน์ตลอดมา โดยให้ความสำคัญใน 3 มิติ

คือ ผู้คน ชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม และในปลายปีนี้สยามพิวรรธน์พร้อมเดินหน้าโครงการ Citizen of Love by Siam Piwat ในฐานะองค์กรที่เกิดในประเทศไทยอยู่ภายใต้ร่มพระบารมีบนแผ่นดินอันเปี่ยมด้วยความรักและการทำความดีด้วยหัวใจเพื่อผู้อื่น จึงตั้งปณิธานที่จะสืบสานและแบ่งปันความรัก มอบโอกาสในการสร้างความภาคภูมิใจและความเท่าเทียมให้กับคนทั้งมวลอย่างทั่วถึง

นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ กล่าวว่า “กว่า 60 ปี จากวิสัยทัศน์ที่บริษัทยึดมั่นตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงวันนี้ สยามพิวรรธน์ได้ทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อที่จะสร้างรูปแบบธุรกิจต่างๆ ของการค้าปลีกในการสนับสนุนคนไทยที่มีความสามารถทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยจากต่างจังหวัด ดีไซเนอร์ นักออกแบบไทยที่มีความสามารถ เยาวชน ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ เด็กพิเศษ และผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้มีโอกาสใช้ธุรกิจและสถานที่ของสยามพิวรรธน์เป็นเวทีของการนำเสนอสินค้าและบริการในหลากหลายประเภทด้วยความภาคภูมิใจ อีกทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ในการทำธุรกิจอย่างครบวงจร นอกจากนี้สยามพิวรรธน์ยังทำงานร่วมกับชุมชนและภาคประชาสังคมที่จะสร้างความภาคภูมิใจในการสืบสานภูมิปัญญาไทยในแขนงต่างๆ และการอนุรักษ์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม รวมถึงการพัฒนาชุมชน สร้างศักยภาพในการทำมาค้าขายและยกระดับคุณภาพชีวิตของแต่ละชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม นับเป็นต้นแบบของการทำธุรกิจที่มีพันธกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้เติบโตร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการต่างๆนี้ สยามพิวรรธน์ได้เชิญชวนพันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้า ผู้ประกอบการ และพนักงานของกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ทั้งหมดให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าเพื่อให้เราเป็นองค์กรที่มุ่งสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม และนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติสืบต่อไป

การสร้างความยั่งยืนใน 3 มิติของกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ คือ 1) มิติผู้คน ; 2) มิติชุมชนสังคม และ 3) มิติสิ่งแวดล้อม

1. มิติผู้คน : ให้โอกาส ความเท่าเทียมกับคนทุกกลุ่ม สนับสนุนให้ประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น

นาง ชฎาทิพ จูตระกูล กล่าวว่า สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญกับการให้โอกาส ความเท่าเทียมและการสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จ กับบุคคล 3 กลุ่ม คือ1) บุคคลทั่วไป ; 2) คนที่มีความสามารถในหลากหลายประเภท ; 3) ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ เด็กพิเศษ และผู้ด้อยโอกาส โดยใช้ศักยภาพพื้นที่ในทุกโครงการสร้างให้เกิดประโยชน์กับพวกเขาเหล่านั้น เริ่มตั้งแต่

- สยามเซ็นเตอร์ ที่ตลอดระยะเวลากว่า 45 ปี เราได้ให้การสนับสนุนไทยดีไซเนอร์และธุรกิจออกแบบแฟชั่นของไทย ตั้งแต่ริเริ่มการจัดประกวด young designer จนให้เขาเหล่านั้นเติบโตเป็นเจ้าของร้าน และได้แจ้งเกิดในฐานะนักออกแบบแฟชั่นชั้นแนวหน้าของเมืองไทยที่ดังไปไกลทั่วโลก

- สุขสยาม ชั้น G ไอคอนสยาม คือ การสร้างระบบนิเวศน์ทางการค้า (Commercial Ecosystem) ที่เราช่วยส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และทำให้เป็นเวทีที่สร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยระดับท้องถิ่นจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เพื่อคัดสรรนำของดี อาหาร ศิลปะ หัตถกรรม เวชศาสตร์ การแสดงพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ตลอดจนช่วยเหลือ ส่งเสริมความรู้และการทำการตลาด modern trade ให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้พร้อมเข้าสู่กลไกตลาดและการค้าสมัยใหม่ ช่วยให้สินค้าเหล่านั้นสามารถเจาะตลาดนานาชาติได้ และสามารถต่อยอดไปสู่การทำ E-commerce ได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับธนาคารให้มาช่วยสอนการบริหารการเงินและการออมเงินอีกด้วย

ความภาคภูมิใจของเรา คือ การให้โอกาส Local Heroes ศิลปิน ช่างฝีมือ ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสได้ทำการค้าขายในกรุงเทพฯ ให้ได้เข้ามาทำการค้าขายบนเวทีที่มีศักยภาพ ส่งผลทำให้ผู้มาค้าขายในสุขสยามมีรายได้ดีมากและมีเงินทุนที่จะทำธุรกิจพัฒนาสินค้าต่อไป ลูกหลานเห็นช่องทางและยินดีที่จะมาต่อยอดเพื่อสืบสานกิจการค้าขายหรืองานฝีมือของครอบครัวและบรรพบุรุษเพราะได้เห็นโอกาสและความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงในสุขสยาม ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการหลายรายได้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวจนได้มีโอกาสไปทำธุรกิจในต่างประเทศอีกด้วย

- O.D.S. Objects of Desire Store ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่ ศูนย์รวมสินค้าไลฟ์สไตล์และของตกแต่งบ้านสุดเอ็กซ์คลูซีพ เป็นการทำงานร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) โดยคัดเลือกสินค้าจากโครงการ DEMark, Talent Thai และอื่นๆ เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์และงานออกแบบที่โดดเด่นของดีไซเนอร์ไทยที่ชนะรางวัลมาแล้วรวมกว่า 130 แบรนด์ มาไว้ในพื้นที่ 620 ตารางเมตร ให้เป็นเวทีที่เปิดให้ทั่วโลกได้มาสัมผัสและ เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าไปยังในต่างประเทศอีกด้วย

- ICONCRAFT ‘ไอคอนคราฟต์’ ชั้น 4 และ ชั้น 5 ไอคอนสยาม ที่รวบรวมงานนวัตศิลป์และงานคราฟต์ แบบร่วมสมัยหลากหลายประเภทไว้ในที่เดียว เปิดโอกาสให้ช่างฝีมือไทย ดีไซเนอร์ และผู้ประกอบการ SME เข้ามาค้าขายในไอคอนคราฟต์ถึง 500 ราย บนพื้นที่กว่า 2,500 ตารางเมตร เราทำงานร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในการบ่มเพาะผู้ประกอบการและขยาย

ผลผลิตด้วยการจัดหาพันธมิตร โดยสยามพิวรรธน์มีทีมที่เข้าไปช่วยผู้ประกอบการ และนักออกแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ มีการสอนการทำธุรกิจโดยใช้ระบบ data management การทำ E platform ช่วยหาสปอนเซอร์เพื่อมาสนับสนุนธุรกิจ จับมือกับธนาคารกสิกรไทยในการสนับสนุนให้ความรู้

การบริหารจัดการเงิน หาช่องทางจัดจำหน่ายอื่นๆ และการประชาสัมพันธ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อสร้างรายได้ ต่อยอดความสามารถ ทำให้มีความภาคภูมิใจที่ได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้าที่มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเยี่ยมชม และเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศอีกด้วย

2) มิติชุมชนและสังคม: สร้างความเจริญและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนโดยรอบโครงการ

เมื่อสยามพิวรรธน์ได้เข้าไปพัฒนาธุรกิจในพื้นที่ใดจะต้องนำความเจริญ และความสะดวกสบายเข้าไปช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน สังคม ดังนั้นสยามพิวรรธน์จึงมุ่งมั่นพัฒนาและสร้างคุณค่าให้กับพื้นที่โดยรอบโครงการที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ทำประโยชน์ให้กับชุมชนธุรกิจที่อยู่รายล้อม ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนตลอดจนสร้างพื้นที่ด้วยแนวคิดอารยสถาปัตย์ เพื่อคนทั้งมวล

นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า สยามพิวรรธน์ถือเป็นผู้นำเรื่องการทำอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ในอาคารอย่างครบวงจรเป็นรายแรกในวงการอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการและผู้ทุพพลภาพรวมถึงผู้สูงอายุและคนทั้งมวลให้เข้าถึงอย่างเท่าเทียม

-สยามพิวรรธน์ มีการลงทุนออกแบบก่อสร้างอาคารที่เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่ใช้งานที่ได้มาตรฐานอารยสถาปัตย์สากลในทุกโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการทำทางเข้า-ออกอาคารที่เชื่อมโยงกับทางเดินและทางลาดรอบอาคารและเชื่อมต่อกับอาคารจอดรถ การติดตั้งนวัตกรรมอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคารในพื้นที่วันสยาม (OneSiam) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุหรือผู้ใช้รถเข็นทุกประเภทสามารถสัญจรไปมาเชื่อมต่อในพื้นที่วันสยาม (OneSiam) อันประกอบด้วย สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอนได้อย่างง่ายดาย มีลิฟต์ขนาดกว้างใหญ่สำหรับรถเข็นทุกประเภท ลิฟต์ราวบันได การติดป้ายสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ทุพพลภาพที่ได้มาตรฐานบริการทุกชั้น และที่จอดรถพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ทุพพลภาพ

- ร่วมมือกับพันธมิตรพลังสยามทำการปรับปรุงทางเชื่อมแยกปทุมวัน ให้เป็น skywalk ด้วยแนวคิดการออกแบบอารยสถาปัตย์ เพื่อให้ผู้คนสามารถสัญจรบนทางเชื่อมได้อย่างสะดวกและทั่วถึงตลอดสี่แยก

นาย สุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า นับตั้งแต่เริ่มโครงการ ไอคอนสยามได้มีนโยบายที่ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาโดยรอบ สนับสนุนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนช่วย

ส่งเสริมต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของผู้คนริมน้ำเจ้าพระยามาช้านาน ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่อไม่ทำให้การพัฒนาโครงการส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนในชุมชนโดยรอบ

- ลงทุนพัฒนาโครงสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้กับพื้นที่โดยรอบ รถไฟฟ้าสายสีทองซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวผ่านถนนเจริญนครไปสิ้นสุดที่โรงพยาบาลตากสินรวม 3 สถานี และในอนาคตจะเป็น Feeder Line ที่เชื่อมเข้ากับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงขณะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้กลางปี 2563 ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เอกชนผู้พัฒนาโครงการใหญ่เข้ามาสนับสนุนเพื่อช่วยลดปัญหาการจราจรที่อาจเกิดตามมา

- มีการทำงานร่วมกับชุมชนและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับแม่น้ำเพื่อพัฒนาแผนแม่บททางสัญจรทั้งทาง รถ-ราง-เรือ ให้เชื่อมต่อถึงกันทั้งหมดและเชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการสร้างท่าเรือ 4 ท่าเรือ ที่มีมาตรการความปลอดภัยแบบใหม่ โดยเชื่อมโยงกับท่าเรือ 73 ท่าเรือ ใน 10 กิโลเมตร โดยได้ทำงานร่วมกับกรมเจ้าท่าและศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ออกแบบท่าเรือไอคอนสยามซึ่งจัดให้มีทางลาดขึ้นลงของผู้พิการและผู้ทุพพลภาพโดยเฉพาะแยกจากผู้โดยสารอื่นและเป็นมิตรกับคนทั้งมวล จนเรียกได้ว่าเป็นโครงการตัวอย่างระดับโลกของการออกแบบที่เป็นสากลและรองรับคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน

- จัดพื้นที่พิเศษที่เรียกว่า ธนบุรีดีไลท์ เพื่อให้ชุมชนที่อยู่โดยรอบนำของดีของเด่นของชุมชนย่านฝั่งธนบุรีมาจำหน่าย

- เปิดให้ใช้พื้นที่บริเวณริเวอร์พาร์ค เพื่อให้ชุมชนสามารถมาใช้ประโยชน์มาออกกำลังกายได้เสมือนเป็นระเบียงหน้าบ้าน

- ส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต 13 ชุมชน ในหลายมิติ เช่น จัดทำโครงการฑูตน้อยไอคอนสยามที่เปิดโอกาสให้เยาวชนมาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม, อนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนที่ดีงาม, มอบทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ เป็นต้น

- ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา และองค์กรพันธมิตร ในโครงการ “รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน" เพื่อมุ่งเน้นการให้ความรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้อาศัยในพื้นที่ได้ร่วม

- ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการริเริ่มศูนย์ชุมชนฯ ในพื้นที่กะดีจีน-คลองสาน ที่มุ่งหวังที่จะให้ศูนย์ชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น อนุรักษ์สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามมาหลายยุคสมัย การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมการสร้างรายได้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสร้างความภาคภูมิใจในชุมชน

- ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การใช้ชีวิตริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืน

3) มิติสิ่งแวดล้อม: สร้างความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการดูแลโลกใบนี้

นางอุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ กล่าวว่า สยามพิวรรธน์มีนโยบายและแนวปฎิบัติในเรื่องการดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกๆ พื้นที่ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจ สร้างความสมดุลในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้พื้นที่ในทุกโครงการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ ตลอดจนกระตุ้นให้สังคมไทยเกิดการตื่นตัวและรับรู้ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่วมมือกันช่วยลดภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ทุกคนจะได้ร่วมกันดูแล และส่งต่อโลกที่สวยงามให้กับคนรุ่นหลังต่อไป

- การใช้สยามดิสคัฟเวอรี่เป็นต้นแบบของแนวคิดของโครงการที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเริ่ม ทั้งนี้เพื่อให้เราเป็นสถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ที่สนับสนุนให้คนใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กระตุ้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิตนักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรม 100 ดีไซน์ การใช้พื้นที่ภายในสยามดิสคัฟเวอรี่ เสมือนเป็นห้องเรียนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนำวัสดุ recycle มาทำเป็นต้นคริสต์มาส เป็นต้น

- การผสมผสานวิถีชีวิตคนยุคใหม่ให้เข้ากันได้กับสินค้าที่ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังประโยคที่ว่า Lifestyles in Harmony with Nature ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ และผู้ประกอบการร้านค้า ภายใต้กลยุทธ์ “The Future of Sustainability in Retail ซึ่งเป็นการดำเนินงานอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ระดับนโยบาย จนถึงปลายทาง ลูกค้า มีการกำหนดนโยบายบัญญัติ 10 ประการ

- การลด ละ เลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (One Single use Plastic) โดยเริ่มใช้ถุงกระดาษใส่สินค้าให้กับลูกค้ามาตั้งแต่ปี 2559 และในปีนี้เรายังร่วมมือกับ บริษัทธุรกิจเพื่อสังคม ในการ

- สยามดิสคัฟเวอรี่ให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์รักษ์โลกหลากหลายหมวดหมู่ ณ Ecotopia

- การจัดตั้ง Green Fund โดยสยามพิวรรธน์จะร่วมมือกับพันธมิตรทาง Green Organization จัดสรรเงินงบประมาณ การจัดโครงการ หรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำไปเป็นเงินกองทุนสนับสนุนในการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการดูแล รักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

- มีการจัดทำหนังสือ “เขียวสยาม” เพื่อเผยแพร่ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมไปยังกลุ่มเป้าหมาย

- เพื่อนำมาใช้ปฏิบัติกับทุกภาคส่วน ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มค้าปลีกของสยามพิวรรธน์ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

- นำ application มาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้ลูกค้าลด ละ เลิก การขอรับผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น หลอด ช้อนส้อม นอกจากนี้ สยามพิวรรธน์ ยังคงมีแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องระยะยาวที่จะสร้างประโยชน์คืนกลับสู่ลูกค้าและสังคม

นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ กล่าวเสริมว่า จากปัญหาสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงอันส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในปัจจุบัน และเป็นปัญหาของชุมชนโลกที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันรับผิดชอบสยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่างๆเหล่านี้มานาน และได้ดำเนินการเพื่อดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ พื้นที่ นำหลัก 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle มาใช้จัดการสิ่งแวดล้อมของอาคารต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 10 ปี

- สยามพิวรรธน์จึงมุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้เข้าร่วมโครงการชดเชยคาร์บอน ซึ่งจัดขึ้นโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และการจับมือกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการ“ต้นแบบเครือข่ายกรุงเทพฯ สีเขียว” กำหนดแผนการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน อาทิ เลือกใช้หลอดไฟประเภท LED ในทุกโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

- ไอคอนสยามนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก Solar Rooftop เพื่อทดแทนการจ่ายไฟฟ้าสำหรับการจ่ายไฟฟ้าแสงสว่างให้กับอาคารจอดรถของ ICONSIAM เป็นเวลา 1 เดือน มีการออกแบบ

- Electrostatic Air Cleaner เพื่อดักจับละอองน้ำมัน ดูดกรองกลิ่นก่อนปล่อยกลิ่นจากการประกอบอาหารออกสู่สิ่งแวดล้อมและการสร้างพื้นที่สีเขียวรวม 4,000 ตารางเมตร

- Eco Charger Station สถานีบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ณ อาคารจอดรถสยาม และอาคารจอดรถสยามพารากอน และไอคอนสยาม

- การทำระบบน้ำหมุนเวียน (water reuse system)

- ร่วมโครงการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ ให้แก่ผู้บริโภคและประชาชน พร้อมกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวที่จะนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและมีการบริหารจัดการคัดแยกขยะ recycle ทุกวันอย่างเป็นระบบ

ในวันนี้ สยามพิวรรธน์มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่สร้างคุณค่า ต่อผู้คน ชุมชนสังคม ประเทศชาติ ด้วยการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นในวงกว้าง ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ตลอดจนยกระดับสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน และพร้อมเดินหน้าโครงการ Citizen of Love by Siam Piwat เพื่อสืบสานและแบ่งปันความรัก มอบโอกาสในการสร้างความภาคภูมิใจและความเท่าเทียมให้กับคนทั้งมวลอย่างทั่วถึง ผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้า และพันธมิตรร่วมกันมอบของขวัญปีใหม่ให้กับเด็กผู้ด้อยโอกาส ด้วยการจัดทำกระเป๋าเป้ พร้อมอุปกรณ์การเรียน ใส่ความสุขและความรู้ส่งมอบให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 26,500 คนจาก 218 โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อเป็นกำลังใจและก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาอย่างมีความสุขเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2563 โดยประชาชนทั่วไปสามารถร่วมบริจาคกับโครงการได้ ณ จุดรับบริจาค ชั้น M สยามเซ็นเตอร์ (ทางเชื่อมลานพาร์ค พารากอน) ชั้น 3 สยามพารากอน (หน้าร้าน The Cloud: Sansiri x The Coffee Club) ชั้น 1 สยามดิสคัฟเวอรี่ (สะพานทางเชื่อม) ชั้น M ไอคอนสยาม (หน้าร้าน L’Occitane) ตั้งแต่วันนี้จนถึง 5 มกราคม 2563 อีกด้วย